ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2019

เลียงผา

เลียงผา ชื่อสามัญ  : Serow ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Capricornis sumatraensis ชื่ออื่น  :  เยือง,กูรำ,โครำ ลักษณะ  : เลียงผาเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับ แพะและแกะ เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่ประมาณ ๑ เมตร ขายาวและแข็งแรง ใบหูยาวคล้ายใบหูลา ขนตามลำตัวค่อนข้างยาว หยาบและมีสีดำ ด้านท้องขนสีจางกว่า มีขนเป็นแผงยาวบนสันคอและสันหลัง มีเขาทั้งในตัวผู้และตัวเมีย เขามีลักษณะตอนโคนกลม หยักเป็นวงแหวนโดยรอบค่อยๆ เรียวไปทางปลายเขาโค้ง ไปทางด้านหลังเล็กน้อย อุปนิสัย  : ในเวลากลางวันจะพักอาศัยอยู่ในถ้ำ หรือในพุ่มไม้ ออกหากินในตอนเย็นถึงพลบค่ำ และในเวลาเช้ามืด อาหารได้แก่พืชต่างๆ ทุกชนิด เลียงผามีประสาทหู ตา และรับกลิ่นได้ดี ผสมพันธุ์ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ตกลูกครั้งละ ๑-๒ ตัว ใช้เวลาตั้งท้องราว ๗ เดือน ในที่เลี้ยง เลียงผามีอายุยาวกว่า ๑๐ ปี ที่อาศัย  : เลียงผาอาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผาสูงชันมีป่าปกคลุม เขตแพร่กระจาย  : เลียงผามีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ มาตามเทือกเขาหิมาลัยจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้  พม่า อินโดจี...

พะยูน

พะยูน ชื่อสามัญ  : Dugong ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Dugong dugon ชื่ออื่น  : หมูน้ำ , ปลาพะยูน ลักษณะ  : พะยูนจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีลำตัวเพรียวรูปกระสวย หางแยกเป็นสองแฉก วางตัวขนานกับพื้นในแนวราบ ไม่มีครีบหลัง ปากอยู่ตอนล่าง ของส่วนหน้าริมฝีปากบนเป็นก้อนเนื้อหนา ลักษณะเป็นเหลี่ยมคล้ายจมูกหมู ตัวอายุน้อยมีลำตัวออกขาว ส่วนตัวเต็มวัยมีสีชมพูแดง เมื่อโตเต็มวัยจะมีน้ำหนักตัวประมาณ ๓๐๐ กิโลกรัม อุปนิสัย  : พะยูนอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว หลายครอบครัวจะหากินเป็นฝูงใหญ่ ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน ๑๓ เดือน และจะโตเต็มที่เมื่อมีอายุ ๙ ปี ที่ยู่อาศัย  : ชอบอาศัยหากินพืชจำพวกหญ้าทะเลตามพื้นท้องทะเลชายฝั่ง ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เขตแพร่กระจาย  : พะยูนมีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอาฟริกา ทะเลแดง ตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และตอนเหนือของออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบไม่บ่อยนัก ทั้งในบริเวณอ่าวไทยแถบจังหวัดระยอง และชายฝั่งทะเลอันดามัน แถบจังหว...

เก้งหม้อ

เก้งหม้อ ชื่อสามัญ  : Fea’s Barking Deer ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Muntiacus feai ชื่ออื่น  : เก้งดำ , กวางจุก ลักษณะ  : เก้งหม้อมีลักษณะโดยทั่วไป คล้ายคลึงกับเก้งธรรมดา ขนาดลำตัวไล่เลี่ยกัน เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม แต่เก้งหม้อจะมีสีลำตัวคล้ำกว่าเก้งธรรมดา ด้านหลังสีออกน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีน้ำตาลแซมขาว ขาส่วนที่อยู่เหนือกีบจะมีสีดำ ด้านหน้าของขาหลังมีแถบขาวเห็นได้ชัดเจน บนหน้าผากจะมีเส้นสีดำอยู่ด้านในระหว่างเขา หางสั้นด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน อุปนิสัย  : เก้งหม้อชอบอาศัยอยู่เดี่ยว ในป่าดงดิบ ตามลาดเขา จะอยู่เป็นคู่เฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ออกหากินในเวลากลางวันมากกว่าในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ ใบหญ้า และผลไม้ป่า ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว เวลาตั้งท้องนาน ๖ เดือน ที่อยู่อาศัย  : ชอบอยู่ตามลาดเขาในป่าดงดิบและหุบเขาที่มีป่าหนาทึบและมีลำธารน้ำไหลผ่าน เขตแพร่กระจาย  : เก้งหม้อมีเขตแพร่กระจาย อยู่ในบริเวณตั้งแต่พม่าตอนใต้ลงไปจนถึงภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศไทยพบในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีลงไปจนถึงเ...

สมเสร็จ

สมเสร็จ ชื่อสามัญ  : Malayan Tapir ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Tapirus indicus ชื่ออื่น  : ผสมเสร็จ ลักษณะ  : สมเสร็จเป็นสัตว์กีบคี่ เท้าหน้ามี ๔ เล็บ และเท้าหลังมี ๓ เล็บ จมูกและริมฝีปากบนยื่นออกมาคล้ายงวง ตามีขนาดเล็ก ใบหูรูปไข่ หางสั้น ตัวเต็มวัยมีน้ำหนัก ๒๕๐-๓๐๐ กิโลกรัม ส่วนหัวและลำตัวเป็นสีขาวสลับดำ ตั้งแต่ปลายจมูกตลอดท่อนหัวจนถึงลำตัว บริเวณระดับหลังของขาคู่หน้ามีสีดำ ท่อนกลางตัวเป็นแผ่นขาว ส่วนบริเวณโคนหางลงไปตลอดขาคู่หลัง จะเป็นสีดำ ขอบปลายหูและริมฝีปากขาว ลูกสมเสร็จลำตัวมีลายเป็นแถบ ดูลายพร้อยคล้ายลูกแตงไทย อุปนิสัย  : สมเสร็จชอบออกหากินในเวลากลางคืน กินยอดไม้ กิ่งไม้ หน่อไม้ และพืชอวบน้ำหลายชนิด มักมุดหากินตามที่รกทึบ ไม่ค่อยชอบเดินหากินตามเส้นทางเก่า มีประสาทสัมผัสทางกลิ่นและเสียงดีมาก ผสมพันธุ์ในเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคม ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณ ๑๓ เดือน สมเสร็จที่เลี้ยงไว้มีอายุนานประมาณ ๓๐ ปี ที่อยู่อาศัย  : สมเสร็จชอบอยู่อาศัยตามบริเวณที่ร่มครึ้ม ใกล้ห้วยหรือลำธาร เขตแพร่กระจาย  : สมเสร็จมี...

แมวลายหินอ่อน

แมวลายหินอ่อน ชื่อสามัญ  : Marbled Cat ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Pardofelis marmorata ชื่ออื่น  : _ ลักษณะ  : แมวลายหินอ่อนเป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ ๔-๕ กิโลกรัม ใบหูเล็กมนกลมมีจุดด้านหลังใบหู หางยาวมีขนหนาเป็นพวงเด่นชัด สีขนโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง มีลายบนลำตัวคล้ายลายหินอ่อน ด้านใต้ท้องจะออกสีเหลืองมากกว่า ด้านหลังขาและหางมีจุดดำ เท้ามีพังผืดยืดระหว่างนิ้ว นิ้วมีปลอกเล็บสองชั้น และเล็บพับเก็บได้ในปลอกเล็บทั้งหมด อุปนิสัย  : ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่มักอยู่บนต้นไม้ อาหารได้แก่สัตว์ขนาดเล็กแทบทุกชนิดตั้งแต่แมลง จิ้งจก ตุ๊กแก งู นก หนู กระรอก จนถึงลิงขนาดเล็ก นิสัยค่อนข้าดุร้าย ที่อยู่อาศัย  : ในประเทศไทยพบอยู่ตามป่าดงดิบเทือกเขาตะนาวศรีและป่าดงดิบชื้น ในภาคใต้ เขตแพร่กระจาย  : แมวป่าชนิดนี้มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ประเทศเนปาล สิกขิม แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย ผ่านทางตอนเหนือของพม่า ไทย อินโดจีน ลงไปตลอดแหลมมลายู สุมาตราและบอร์เนียว สถานภาพ  : แมวลายหินอ่อนจัดเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งใน ๑...

นกกระเรียน

นกกระเรียน ชื่อสามัญ  : Sarus Crane ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Grus antigone sharpii ลักษณะ  : เป็นนกขนาดใหญ่เมื่อยืนมีขนาดสูงราว ๑๕๐ เซนติเมตร ส่วนหัวและคอไม่มีขนปกคลุม มีลักษณะเป็นปุ่มหยาบสีแดง ยกเว้นบริเวณกระหม่อมสีเขียวอมเทา ในฤดูผสมพันธุ์มีสีแดงส้มสดขึ้นกว่าเดิม ขนลำตัวสีเทาจนถึงสีเทาแกมฟ้า มีกระจุกขนสีขาวห้อยคลุมส่วนหาง จะงอยปากสีออกเขียว แข้งและเท้าสีแดงหรือสีชมพูอมฟ้า นกอายุน้อยมีขนสีน้ำตาลทั่วตัว บนส่วนหัวและลำคอมีขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุม ในประเทศไทยเป็นนกกระเรียนชนิดย่อย Sharpii ซึ่งไม่มีวงแหวนสีขาวรอบลำคอ อุปนิสัย  : ออกหากินเป็นคู่และเป็นกลุ่มครอบครัว กินพวกสัตว์ เช่น แมลง สัตว์เลื้อยคลาน กบ เขียด หอย ปลา กุ้งและพวกพืช เมล็ดข้าวและยอดหญ้าอ่อน ทำรังวางไข่ในฤดูฝนราวเดือนมิถุนายน ปกติวางไข่จำนวน ๒ ฟอง พ่อแม่นกจะเลี้ยงดูลูกอีกเป็นเวลาอย่างน้อย ๑๐ เดือน ที่อยู่อาศัย  : ชอบอาศัยตามทุ่งหญ้าที่ชื้นแฉะ และหนองบึงที่ใกล้ป่า เขตแพร่กระจาย  : นกกระเรียนชนิดย่อยนี้ มีเขตแพร่กระจายจากแคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ไทย ตอ...