กระซู่
ชื่อสามัญ : Sumatran Rhinoceros
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicermocerus sumatraensis
ชื่ออื่น : แรดสุมาตรา
ลักษณะ : กระซู่เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแรด แต่มีลักษณะลำตัวเล็กกว่า ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑-๑.๕ เมตร น้ำหนักประมาณ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม มีหนังหนาและมีขนขึ้นปกคลุมทั้งตัว โดยเฉพาะในตัวที่มีอายุน้อย ซึ่งขนจะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น สีลำตัวโดยทั่วไปออกเป็นสีเทา คล้ายสีขี้เถ้า ด้านหลังลำตัว จะปรากฏรอยพับของหนังเพียงพับเดียว ตรงบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้า กระซู่ทั้งสองเพศมีนอ ๒ นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ส่วนนอหลังมีความยาวไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร หรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย
อุปนิสัย : กระซู่ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พวกใบไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว มีระยะตั้งท้อง ๗-๘ เดือน ในที่เลี้ยงกระซู่มีอายุยืน ๓๒ ปี
ที่อยู่อาศัย : กระซู่อาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความหนารกทึบ ลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำ ในตอนปลายฤดูฝนซึ่งในระยะนั้นมีปรักและน้ำอยู่ทั่วไป
เขตแพร่กระจาย : กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม มลายู สุมาตรา และบอเนียว ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบกระซู่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งได้แก่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี และในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และบริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศกับมาเลเซีย
สถานภาพ : ปัจจุบันกระซู่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย อนุสัญญา CITES จัดไว้ในAppendix I และ U.S. Endanger Species Act จัดไว้ในพวกที่ใกล้จะสูญพันธุ์
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : กระซู่ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอานอ และอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งมีฤทธิ์ในทางเป็นยา กระซู่จึงถูกล่าอยู่เนืองๆ ประกอบกับกระซู่มีอยู่ในธรรมชาติน้อย และประชากรแต่ละกลุ่มและแม้แต่กลุ่มเดียวกันก็อยู่ห่างกันมากไม่มีโอกาสจับคู่ขยายพันธุ์ได้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicermocerus sumatraensis
ชื่ออื่น : แรดสุมาตรา
ลักษณะ : กระซู่เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแรด แต่มีลักษณะลำตัวเล็กกว่า ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑-๑.๕ เมตร น้ำหนักประมาณ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม มีหนังหนาและมีขนขึ้นปกคลุมทั้งตัว โดยเฉพาะในตัวที่มีอายุน้อย ซึ่งขนจะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น สีลำตัวโดยทั่วไปออกเป็นสีเทา คล้ายสีขี้เถ้า ด้านหลังลำตัว จะปรากฏรอยพับของหนังเพียงพับเดียว ตรงบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้า กระซู่ทั้งสองเพศมีนอ ๒ นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ส่วนนอหลังมีความยาวไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร หรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย
อุปนิสัย : กระซู่ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พวกใบไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว มีระยะตั้งท้อง ๗-๘ เดือน ในที่เลี้ยงกระซู่มีอายุยืน ๓๒ ปี
ที่อยู่อาศัย : กระซู่อาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความหนารกทึบ ลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำ ในตอนปลายฤดูฝนซึ่งในระยะนั้นมีปรักและน้ำอยู่ทั่วไป
เขตแพร่กระจาย : กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม มลายู สุมาตรา และบอเนียว ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบกระซู่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งได้แก่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี และในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และบริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศกับมาเลเซีย
สถานภาพ : ปัจจุบันกระซู่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย อนุสัญญา CITES จัดไว้ในAppendix I และ U.S. Endanger Species Act จัดไว้ในพวกที่ใกล้จะสูญพันธุ์
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : กระซู่ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอานอ และอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งมีฤทธิ์ในทางเป็นยา กระซู่จึงถูกล่าอยู่เนืองๆ ประกอบกับกระซู่มีอยู่ในธรรมชาติน้อย และประชากรแต่ละกลุ่มและแม้แต่กลุ่มเดียวกันก็อยู่ห่างกันมากไม่มีโอกาสจับคู่ขยายพันธุ์ได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น