ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แรด



แรด
ชื่อสามัญ : Javan Rhinoceros
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinoceros sondaicus
ชื่ออื่น : แรดชวา

ลักษณะ : แรดจัดเป็นสัตว์จำพวกมีกีบ คือมีเล็บ ๓ เล็บทั้งเท้าหน้าและเท้าหลัง ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑.๖-๑.๘ เมตร น้ำหนักตัว ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ กิโลกรัม แรดมีหนังหนาและมีขนแข็งขึ้นห่างๆ สีพื้นเป็นสีเทาออกดำ ส่วนหลังมีส่วนพับของหนัง ๓ รอย บริเวณหัวไหล่ด้านหลังของขาคู่หน้า และด้านหน้าของขาคู่หลัง แรดตัวผู้มีนอเดียวยาวไม่เกิน ๒๕ เซนติเมตร ส่วนตัวเมียจะเห็นเป็นเพียงปุ่มนูนขึ้นมา

อุปนิสัย : ในอดีตเคยพบแรดหากินร่วมเป็นฝูง แต่ในปัจจุบันแรดหากินตัวเดียวโดดๆ หรืออยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ อาหารของแรดได้แก่ ยอดไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ และผลไม้ที่ร่วงหล่นบนพื้นดิน แรดไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน จึงสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว ตั้งท่องนานประมาณ ๑๖ เดือน

ที่อยู่อาศัย: แรดอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ หรือตามป่าทึบริมฝั่งทะเล ส่วนใหญ่จะหากินอยู่ตามพื้นที่ราบ ไม่ค่อยขึ้นบนภูเขาสูง

เขตแพร่กระจาย : แรดมีเขตกระจายตั้งแต่ประเทศบังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม ลงไปทางแหลมมลายู สุมาตรา และชวา ปัจจุบันพบน้อยมากจนกล่าวได้ว่า เกือบจะหมดไปจากผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียแล้ว เชื่อว่ายังอาจจะมีคงเหลืออยู่บ้างทางเทือกเขาตะนาวศรี และในป่าลึกตามแนวรอยต่อจังหวัดระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี

สถานภาพ : ปัจจุบันแรดจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และจัดอยู่ใน Appendix 1ของอนุสัญญา CITES ทั้งยังเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตาม U.S.Endanger Species 

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : เช่นเดียวกับแรดที่พบบริเวณอื่นๆ ที่พบในประเทศไทยถูกล่าและทำลายอย่างหนัก เพื่อต้องการนอหรือส่วนอื่นๆ เช่น กระดูก เลือด ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าสูงยิ่ง เพื่อใช้ในการบำรุงและยาอื่นๆ นอกจากนี้บริเวณป่าที่ราบที่แรดชอบอาศัยอยู่ก็หมดไป กลายเป็นบ้านเรือนและเกษตรกรรมจนหมด







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เลียงผา

เลียงผา ชื่อสามัญ  : Serow ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Capricornis sumatraensis ชื่ออื่น  :  เยือง,กูรำ,โครำ ลักษณะ  : เลียงผาเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับ แพะและแกะ เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่ประมาณ ๑ เมตร ขายาวและแข็งแรง ใบหูยาวคล้ายใบหูลา ขนตามลำตัวค่อนข้างยาว หยาบและมีสีดำ ด้านท้องขนสีจางกว่า มีขนเป็นแผงยาวบนสันคอและสันหลัง มีเขาทั้งในตัวผู้และตัวเมีย เขามีลักษณะตอนโคนกลม หยักเป็นวงแหวนโดยรอบค่อยๆ เรียวไปทางปลายเขาโค้ง ไปทางด้านหลังเล็กน้อย อุปนิสัย  : ในเวลากลางวันจะพักอาศัยอยู่ในถ้ำ หรือในพุ่มไม้ ออกหากินในตอนเย็นถึงพลบค่ำ และในเวลาเช้ามืด อาหารได้แก่พืชต่างๆ ทุกชนิด เลียงผามีประสาทหู ตา และรับกลิ่นได้ดี ผสมพันธุ์ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ตกลูกครั้งละ ๑-๒ ตัว ใช้เวลาตั้งท้องราว ๗ เดือน ในที่เลี้ยง เลียงผามีอายุยาวกว่า ๑๐ ปี ที่อาศัย  : เลียงผาอาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผาสูงชันมีป่าปกคลุม เขตแพร่กระจาย  : เลียงผามีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ มาตามเทือกเขาหิมาลัยจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้  พม่า อินโดจี...

เก้งหม้อ

เก้งหม้อ ชื่อสามัญ  : Fea’s Barking Deer ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Muntiacus feai ชื่ออื่น  : เก้งดำ , กวางจุก ลักษณะ  : เก้งหม้อมีลักษณะโดยทั่วไป คล้ายคลึงกับเก้งธรรมดา ขนาดลำตัวไล่เลี่ยกัน เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม แต่เก้งหม้อจะมีสีลำตัวคล้ำกว่าเก้งธรรมดา ด้านหลังสีออกน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีน้ำตาลแซมขาว ขาส่วนที่อยู่เหนือกีบจะมีสีดำ ด้านหน้าของขาหลังมีแถบขาวเห็นได้ชัดเจน บนหน้าผากจะมีเส้นสีดำอยู่ด้านในระหว่างเขา หางสั้นด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน อุปนิสัย  : เก้งหม้อชอบอาศัยอยู่เดี่ยว ในป่าดงดิบ ตามลาดเขา จะอยู่เป็นคู่เฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ออกหากินในเวลากลางวันมากกว่าในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ ใบหญ้า และผลไม้ป่า ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว เวลาตั้งท้องนาน ๖ เดือน ที่อยู่อาศัย  : ชอบอยู่ตามลาดเขาในป่าดงดิบและหุบเขาที่มีป่าหนาทึบและมีลำธารน้ำไหลผ่าน เขตแพร่กระจาย  : เก้งหม้อมีเขตแพร่กระจาย อยู่ในบริเวณตั้งแต่พม่าตอนใต้ลงไปจนถึงภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศไทยพบในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีลงไปจนถึงเ...

แมวลายหินอ่อน

แมวลายหินอ่อน ชื่อสามัญ  : Marbled Cat ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Pardofelis marmorata ชื่ออื่น  : _ ลักษณะ  : แมวลายหินอ่อนเป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ ๔-๕ กิโลกรัม ใบหูเล็กมนกลมมีจุดด้านหลังใบหู หางยาวมีขนหนาเป็นพวงเด่นชัด สีขนโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง มีลายบนลำตัวคล้ายลายหินอ่อน ด้านใต้ท้องจะออกสีเหลืองมากกว่า ด้านหลังขาและหางมีจุดดำ เท้ามีพังผืดยืดระหว่างนิ้ว นิ้วมีปลอกเล็บสองชั้น และเล็บพับเก็บได้ในปลอกเล็บทั้งหมด อุปนิสัย  : ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่มักอยู่บนต้นไม้ อาหารได้แก่สัตว์ขนาดเล็กแทบทุกชนิดตั้งแต่แมลง จิ้งจก ตุ๊กแก งู นก หนู กระรอก จนถึงลิงขนาดเล็ก นิสัยค่อนข้าดุร้าย ที่อยู่อาศัย  : ในประเทศไทยพบอยู่ตามป่าดงดิบเทือกเขาตะนาวศรีและป่าดงดิบชื้น ในภาคใต้ เขตแพร่กระจาย  : แมวป่าชนิดนี้มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ประเทศเนปาล สิกขิม แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย ผ่านทางตอนเหนือของพม่า ไทย อินโดจีน ลงไปตลอดแหลมมลายู สุมาตราและบอร์เนียว สถานภาพ  : แมวลายหินอ่อนจัดเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งใน ๑...